ยินดีต้อนรับเข้าสู่เทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ : 053-980029 โทรสาร (แฟกซ์) : 053-980029 ต่อ 102 อีเมล์: saraban_05510301@dla.go.th

อำนาจหน้าที่

ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของเทศบาล
  • เทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง เป็นทบวงการเมืองและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒ (มาตรา ๔) เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ และมีผลตามกฎหมายในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒ และเป็นหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล บ้านโฮ่ง ซึ่งกำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้อง พ.ศ. ๒๕๔๒ สามารถสรุปได้ดังนี้

    อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ มาตรา ๕๐ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
    (๑) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
    (๒) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
    (๓) รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
    (๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
    (๕) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
    (๖) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
    (๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
    (๘) บำรุงศิลปะจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
    (๙) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

    (ยกเลิกความใน (๗) ของมาตรา ๕๐ แห่ง พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ และให้ใช้ความข้างต้นแทน ตามมาตร ๑๐ แห่ง พ.ร.บ. เทศบาล (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๒ และเพิ่มเติมความใน (๘) (๙) ตามมาตรา ๑๑ แห่ง พ.ร.บ. เทศบาล ( ฉบับที่ ๑๐ ) พ.ศ. ๒๕๔๒) มาตรา ๕๑ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
    (๑) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
    (๒) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
    (๓) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
    (๔) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
    (๕) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
    (๖) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
    (๗) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
    (๘) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
    (๙) เทศพาณิชย์

    (ยกเลิกความในมาตรา ๕๑ แห่ง พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และให้ใช้ข้อความข้างต้นแทน มาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ. เทศบาล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๑) อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ ให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
    (๑) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
    (๒) การให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
    (๓) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
    (๔) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
    (๕) การสาธารณูปการ
    (๖) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
    (๗) การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน
    (๘) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
    (๙) การจัดการศึกษา
    (๑๐) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
    (๑๑) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
    (๑๒) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
    (๑๓) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
    (๑๔) การส่งเสริมกีฬา
    (๑๕) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
    (๑๖) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
    (๑๗) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
    (๑๘) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
    (๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
    (๒๐) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
    (๒๑) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
    (๒๒) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
    (๒๓) การรักษาความปลอดภัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
    (๒๔) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    (๒๕) การผังเมือง
    (๒๖) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
    (๒๗) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
    (๒๘) การควบคุมอาคาร
    (๒๙) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    (๓๐) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและการสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
    (๓๑) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
  • สำนักปลัดเทศบาล

    มีภารกิจในการปฏิบัติงาน แบ่งภารกิจเป็น 2 ฝ่าย 1) ฝ่ายอำนวยการ ได้แก่ งานบริหารงานทั่วไป งานส่งเสริมการเกษตร งานการเจ้าหน้าที่ งานธุรการ งานสารบรรณ งานเลขา งานรัฐพิธี 2) ฝ่ายปกครอง ได้แก่ งานนิติการ งานรักษาความสงบ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานทะเบียนราษฎร์ งานบัตรประจำตัวประชาชน

  • กองคลัง

    มีภารกิจในการปฏิบัติงาน แบ่งภารกิจเป็น 2 ฝ่าย 1) ฝ่ายบริหารงานคลัง ได้แก่ งานพัสดุและทรัพย์สิน งานการเงินและบัญชี งานระเบียบการคลัง งานสถิติการคลัง งานธุรการ งานสารบรรณ 2) ฝ่ายพัฒนารายได้ ได้แก่ งานพัฒนารายได้ งานผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์ งานแผนที่ภาษีและงานทะเบียนทรัพย์สิน งานบริการข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน

  • กองช่าง

    มีภารกิจในการปฏิบัติงาน แบ่งภารกิจเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ 1) ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง ได้แก่ งานวิศวกรรม งานสถาปัตยกรรม งานผังเมือง 2) ฝ่ายการโยธา ได้แก่ งานสาธารณูปโภค งานสวนสาธารณะ งานศูนย์เครื่องจักรกล งานจัดสถานที่และไฟฟ้าสาธารณะ งานธุรการ งานสารบรรณ

  • กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

    มีภารกิจในการปฏิบัติงาน 1 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข ได้แก่ งานสุขาภิบาลอนามัยสิ่งแวดล้อม งานวางแผนสาธารณสุข งานศูนย์บริหารสาธารณสุข งานรักษาความสะอาด งานเผยแพร่และฝึกอบรม งานส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกันและควบคุมโรค งานสัตว์แพทย์ งานธุรการ งานสารบรรณ

  • กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ

    มีภารกิจในการปฏิบัติงาน แบ่งภารกิจเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ 1) ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ ได้แก่ งานวิเคราะห์นโยบายและแผน งานจัดทำงบประมาณ งานธุรการ งานสารบรรณ 2) ฝ่ายบริการและเผยแพร่วิชาการ ได้แก่ งานบริการข้อมูลข่าวสารราชการส่วนท้องถิ่น งานบริการและเผยแพร่วิชาการ งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ งานตราเทศบัญญัติที่ไม่ใช่เรื่องงบประมาณประจำปี งานนิติกรรมสัญญา งานนิติการ

  • กองการศึกษา

    มีภารกิจในการปฏิบัติงาน แบ่งภารกิจเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ 1) ฝ่ายบริหารการศึกษา ได้แก่ งานระดับก่อนวัยเรียนและประถมศึกษา งานควบคุมดูแลการเรียนการสอน งานจัดหาวัสดุอุปกรณ์ งานติดตามประเมินผล งานธุรการ งานสารบรรณ 2) ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ได้แก่ งานพิธีทางศาสนา งานกิจกรรมกีฬาและนันทนาการปและการฝึกอบรม งานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น

  • กองสวัสดิการสังคม

    มีภารกิจในการปฏิบัติงาน 1 ฝ่าย คือ ฝ่ายพัฒนาชุมชน ได้แก่ งานสังคมสงเคราะห์ งานสวัสดิการเด็กและเยาวชน งานกิจการสตรี เด็ก เยาวชนและคนชรา งานธุรการ งานสารบรรณ งานพัฒนาชุมชนเมือง งานส่งเสริมอาชีพ งานสร้างความเข้มแข็งชุมชน

  • หน่วยตรวจสอบภายใน

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบภายในประจำปี งานการตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือได้ของเอกสารการเงิน การบัญชี เอกสารการรับจ่ายเงินทุกประเภท ตรวจสอบการเก็บรักษาหลักฐานการเงิน การบัญชี งานตรวจสอบการสรรหาพัสดุและทรัพย์สิน การเก็บรักษาพัสดุและทรัพย์สิน งานตรวจสอบ ติดตาม และการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการให้เป็นไปตามนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัด งานวิเคราะห์และประเมินความมีประสิทธิภาพ ประหยัด คุ้มค่า ในการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่างๆ งานประเมินการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจงานรายงานผลการตรวจสอบภายใน งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ แนวทางแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยรับตรวจและผู้เกี่ยวข้อง และงานที่ได้รับมอบหมาย

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

number of website visitors
วันนี้
290
คน
สัปดาห์นี้
2174
คน
เดือนนี้
9246
คน
ปีนี้
25577
คน
ทั้งหมด
25577
คน