ข่าวประกาศต่างๆ
ภาพกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อ จัดจ้าง
LPA
ดาวน์โหลดเอกสาร
เกี่ยวกับหน่วยงาน
โครงสร้างบุคลากร
การดำเนินงานและบริหารเงินงบประมาณ
การบริหารทรัพยากรบุคคลและการส่งเสริมความโปร่งใส
การป้องกันการทุจริต
การจัดการองค์ความรู้
โครงสร้างผู้นำชุมชน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง
ข้อมูลทั่วไป
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง ตั้งอยู่ที่เลขที่ 111 บ้านสันตับเต่า หมู่ที่ 17 ถนนลี้–ลำพูน ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51130
2. เปิดสอนระดับ (ช่วงอายุ) 2 ปี ถึง 3 ปี
3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ/สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
ประวัติโดยย่อ
“ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโฮ่งหลวง” หรือชื่อ “ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง” เป็นศูนย์ที่ อาศัยอยู่ในเขตตำบลบ้านโฮ่ง เริ่มก่อตั้งในปีพ.ศ.2537 มีชื่อว่า “ศูนย์โภชนาการเด็ก โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง” อยู่ใน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2540 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ ได้โอนย้ายมาสังกัดกรมการ พัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นระยะเวลา 2 ปี และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2542 ได้มีการโอนย้ายศูนย์ฯ อีกครั้งมายังสังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง กระทรวงมหาดไทย จนถึงปัจจุบัน “ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง” ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 111 หมู่ 17 บ้านสันตับเต่า ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน บริเวณศูนย์ฯตั้งอยู่บนที่ดินประมาณ 2 ไร่ ที่ดินดังกล่าวเทศบาลตำบลเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง ได้มอบให้จัดสร้างศูนย์ฯ
ชื่อสถานศึกษา | ระดับชั้น | จำนวนเด็กเล็ก/เด็กนักเรียน(คน) | ||
---|---|---|---|---|
ชาย | หญิง | รวม | ||
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง | เตรียมอนุบาล | 9 | 8 | 17 |
(ข้อมูล ณ 18 พฤษภาคม 2566)
คำขวัญ
สะอาด ปลอดภัย ใส่ใจพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
สีประจำศูนย์ฯ
สีประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ ชมพู – ดำ
สีชมพู หมายถึง สีของความอ่อนหวาน ความสะอาดบริสุทธิ์ สดใสซึ่งเปรียบเสมือนเด็กที่ใสสะอาดดุจความร่าเริงสดใสตามวัย
สีดำ หมายถึง ความเข้มแข็งที่แฝงไว้ด้วยความอดทน
อัตลักษณ์
ยิ้มสวย อ่อนหวาน ทักทาย สวัสดี
วิสัยทัศน์
ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย เป็นเด็กดี มีวินัย ใส่ใจการเรียนรู้ คู่คุณธรรม
พันธกิจ
1. จัดกิจกรรมผ่านการเล่น เพื่อพัฒนาเด็กให้มีความพร้อมทั้ง 4 ด้าน
2. ส่งเสริมให้เด็กมีค่านิยม 12 ประการ ที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้เด็กอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
4. จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
5. พัฒนาครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย
6. มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย โดยมีโครงสร้างหลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
7. ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา "การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน เน้นยึดหลักธรรมาภิบาล"
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา
1.1 กลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก
2.1 กลยุทธ์การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพของเด็ก
3.1 กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพของเด็ก
4. ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.1 กลยุทธ์การอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างทักษะการดำเนินชีวิตให้แก่ผู้เรียน
5.1 กลยุทธ์การเสริมสร้างทักษะการดำเนินชีวิตให้แก่ผู้เรียน
6. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6.1 กลยุทธ์ส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสถานศึกษา